ซื้อ-ขาย ฝากซื้อ ฝากขาย และ สาระน่ารู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ คืออะไร


อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ ตามความ พรบ. อาคารชุด ปี พ.ศ. 2522 มีข้อมาตราสำคัญที่พูดถึงอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ว่า มาตรา 6 ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารใดประสงค์จะจดทะเบียนที่ดินและอาคารนั้น
ให้เป็นอาคารชุดตามพระราชบัญญัตินี้ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนอาคารชุดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วย
             (1) โฉนดที่ดิน
             (2) แผนผังอาคารชุด
             (3) อัตราส่วนที่เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนวนกลาง   ตามมาตรา 14
            (4) รายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ทรัพย์สินส่วนบุคคล และทรัพย์สินส่วนกลาง
            (5) คํารับรองของผู้ยื่นคําขอว่าอาคารที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นไ่ม่ติดการจํานอง เว้นแต่การจํานองอาคารรวมกับที่ดิน
            (6) หลักฐานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 14 กรรมสิทธิ์ส่วนที่เป็นของเจ้าของร่วมในทรัพย์สินส่วนกลางให้เป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาห้องชุดแต่ละห้องชุดกับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6



พรบ. อาคารชุด ฉบับที่ 4 ปี 2551 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2551
โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 หลังจากที่คอนโดของเราจดทะเบียนไปแล้ว มีมาตราสำคัญที่พูดถึงอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ว่า

มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน“ มาตรา 6 ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทีดินและอาคารใดประสงค์จะจดทะเบียนที่ดินและอาคารนั้น ให้เป็นอาคารชุดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคําขอจดทะเบียนอาคารชุดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมหลักฐานและรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(1) โฉนดทีดิน
(2) แผนผังอาคารชุด รวมทั้งเส้นทางทางเข้่าออกสู่ทางสาธารณะ
(3) รายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ทรัพย์สินส่วนบุคคล และทรัพย์สินส่วนกลาง ได้แก่ จํานวนพื้นที่ ลักษณะการใช้ประโยชน์และอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
(4) อัตราส่วนที่เจ้าของห้องชุดแต่ละห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14
(5) คํารับรองของผู้ยื่นคําขอว่าอาคารที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นปราศจากภาระผูกพันใดๆ เว้นแต่การจํานองอาคารรวมกับที่ดิน
(6) ร่างข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด
(7) หลักฐานอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง”

มาตรา 14 อัตราส่วนในกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วมให้เป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างเนื้อที่ของห้องชุดแต่ละห้องชุดกับเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6

อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ คืออะไร
                   อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ คืออัตราส่วนที่แต่ละห้องชุด มีกรรมสิทธิ์ (เป็นเจ้าของ)ในส่วนกลาง ซึ่งอัตราส่วนนี้จะถูกระบุไว้ในเอกสารหนังสือกรรมสิทธิ์ ห้องชุด อัตราส่วนนี้เป็นตัวชี้วัดความเป็นเจ้าของ ซึ่งเทียบจากราคา ซื้อ-ขาย หรือพื้นที่ห้องชุด แล้วแต่ว่าคอนโดของคุณขอจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุด ตรงกับ พรบ.ฉบับไหน ตั้งแต่แรก ซึ่งการแก้ไขต้องเข้าที่ประชุมใหญ่
                    ทั้งนี้ขอชี้แจงแบบเข้าในได้ง่ายๆ ขึ้น คือ อัตราส่วนกรรมสิทธิ์ ต่อทรัพย์ส่วนกลาง ขอยกตัวอย่างเช่น นิติบุคคลอาคารชุด เอ มีที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด 150 ห้องชุด (ตั้งสมมุติว่า150ห้องนี้มีอัตราส่วนกรรมสิทธิ์เท่ากัน) 1 ไร่ ต่อมาที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกอาคารชุด และจำหน่ายที่ดิน 1 ไร่
เมื่อขายที่ดินอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางได้ ก็จำเป็นต้องนำมาแบ่งส่วนให้กับเจ้าของร่วมทุกราย ตามที่อัตราส่วนกรรมสิทธิ์กำหนด  แต่จะขอยกเลิกนิติบุคคลได้ ต้องมีมติอนุติจากเจ้าของร่วม 100% ก่อน นะครับ
ที่ดิน 1 ไร่ขายได้ 20 ล้านมีเจ้าร่วม 150 ห้อง (มีอัตราส่วนกรรมสิทธิ์เท่ากัน)  ก็เอา 20 ล้าน หาร 150 ได้เลย ก็จะเป็นเงินที่แต่ละห้องชุดจะได้รับ
                    แต่ถ้าอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ไม่เท่ากัน ก็ต้องหารตามอัตราส่วน ง่ายๆ เท่านี้เองครับ  โดยส่วนใหญ่ถ้าพื้นที่ไม่เท่ากันซะด้วยซิ ยกเว้นคอนโดที่มีขนาดเท่ากันแต่คิดอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ตามราคา ครับ

                     ที่นี้เห็นความสำคัญของอัตราส่วนกรรมสิทธิ์แล้ว ก็ใคร่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตาม พรบ. กำหนดให้เจ้าของร่วมต้องชำระค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ ก็มาจากสามเหตุว่า เราเป็นเจ้าของเท่าไร เราก็จ่ายเท่านั้น

อัตรากรรมสิทธิ์ สามารถนำมาแปลงเป็น

1. คะแนนเสียง ในการประชุมใหญ่

2. คิดค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
Share:

0 ความคิดเห็น:

Labels