ซื้อ-ขาย ฝากซื้อ ฝากขาย และ สาระน่ารู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รู้ไหม? รถไฟฟ้าจะผ่านบ้านเราในปี63 และหลังบ้านเราจะเป็นสถานีบำรุงขนาดใหญ่


บริเวณทิศตะวันออกของทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยมจะเป็นโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง  รวมถึงมีอาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ว่างของทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม
– งบประมาณ 54,644 ลบ.
– มติเห็นชอบของคณะกรรมการ PPP อนุมัติให้เอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost
– กำหนดสร้างเสร็จ 2563
ครม.เห็นชอบโครงการรถไฟฟ้าจำนวน 2 เส้นทาง ตามมติเห็นชอบของคณะกรรมการ PPP อนุมัติให้เอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost

ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)

ระยะเวลาดำเนินการ 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็น ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี

โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสาร โดยรัฐบาลมีรายจ่ายเฉพาะค่ากรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่เหลือเอกชนลงทุนทั้งหมด อาทิ ค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ


ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำชับให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจต้องดำเนินการจัดหาผู้ดำเนินโครงการให้ได้ภายใน 2 เดือน

เงินลงทุนของสายสีเหลือง ระยะทาง 29.1 กม. จำนวน 23 สถานี อยู่ที่ 54,644 ลบ. แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 6,013 ลบ. ค่างานโยธา 24,380 ลบ. ค่างานระบบไฟฟ้าและขบวนรถ 22,772 ลบ. และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ 1,479 ลบ. ทั้งโครงการรัฐลงทุน 6,013 ลบ. ส่วนเอกชนลงทุน 48,631 ลบ. จะเปิดบริการปี 2563 ในปีแรก ใช้รถทั้งหมด 102 ตู้หรือ 17 ขบวน มีผู้โดยสาร 247,900 คน/วัน มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) อยู่ที่ 17.2% และผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) อยู่ที่ 5.43%

อย่างไรก็ตาม สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ตั้งข้อสังเกตุว่า เอกชนควรจะลงทุนในค่างานโยธามากกว่านี้ หรือกำหนดให้ชัดเจนว่าไม่ต่ำกว่า 25 % ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังตั้งข้อสังเกตุเช่นกันว่าการกำหนดไว้ไม่น้อยกว่า 25 % อาจทำให้ไม่มีความยืดหยุ่น  เพราะบริษัทผู้ร่วมเสนอโครงการควรเสนอรับเงินอุดหนุนจากโครงการน้อยที่สุด ดังนั้นข้อสังเกตุดังกล่าวไปพิจารณาในคณะกรรมการประกวดราคาด้วย

ข้อมูลข่าว : ประชาชาติธุรกิจ 17 มี.ค. 59 12:54, 29 มี.ค. 59 20:50

ตำแหน่งสถานีโดยสังเขป

เรียบเรียงโดย REALIST(ชื่อสถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
– คลิกที่สี่เหลี่ยมด้านซ้ายบนของแผนที่เพื่อเลือกตำแหน่งสถานี
– แผนที่สามารถขยายได้เพื่อดูตำแหน่งโดยละเอียด
– คลิก “Base Map / ฐานแผนที่” ด้านมุมซ้ายล่างเพื่อเปลี่ยน Map Background 
ระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง
มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของสายสีน้ำเงิน) กับระบบขนส่งมวลชน 3 สาย คือ
1.สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี
2.รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9
3.สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง
โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว ยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ทางแยกลำสาลี ต่อจากนั้นแนวเส้นทางจะยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และผ่านแยกพัฒนาการ แยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาอีกครั้งไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 30 กิโลเมตร


เงินลงทุน 54,644 ล้านบาท
– ค่าเวนคืนที่ดิน 6,013 ล้านบาท
– ค่างานโยธา 24,380 ล้านบาท
– ค่าระบบไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า 22,772 ล้านบาท
– ค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,479 ล้านบาท



ความคืบหน้าในการดำเนินการ
– รฟม.พิจารณา 4 ประเด็นตามที่คณะกรรมการ PPP สั่งการและทำรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายเหลืองเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ปลายเดือน มี.ค. 59
ประกอบด้วย
1. รูปแบบรถไฟฟ้า
2. รูปแบบการลงทุนและการกำหนดทีโออาร์
3. ปรับวงเงินลงทุนให้เป็นปัจจุบันและทบทวนค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด
4. รูปแบบเงินสนับสนุนเอกชน
– รมต.คมนาคม พิจารณาแนวคิดให้เอกชนประมูลเทิร์นคีย์ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และสายสีเหลือง เงินลงทุนรวม 111,335 ล้านบาท โดยผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ และผู้ผลิตรถไฟฟ้า เป็นกลุ่มเดียวกัน เปิดประมูล มิ.ย. 59

ข้อมูลข่าว : ประชาชาติธุรกิจ 17 มี.ค. 59 12:54




– รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
– 23 สถานี ระยะทาง 30 กม. เป็นโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณทิศตะวันออกของทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม รวมถึงมีอาคารและลานจอดแล้วจร 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ว่างของทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม
– งบประมาณ 54,644 ลบ.
– มติเห็นชอบของคณะกรรมการ PPP อนุมัติให้เอกชนเข้าลงทุนกับภาครัฐ (PPP) ในรูปแบบ PPP Net Cost
– กำหนดสร้างเสร็จ 2563
Info : MRTA



สถานีศรีเอี่ยม อาคารซ่อมบำรุง และอาคารจอดและจร

Share:

0 ความคิดเห็น:

Labels